สัปดาที่ 15

NPU Model


อธิบาย NPU MODEL
Need Analysis
การวิเคราะห์ความต้องการ (Need Analysis) ความต้องการ (Need) คือ ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่คาดหวังให้เป็นไป เช่น ความแตกต่างระหว่างผลงานที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลท าออกมากับมาตรฐานที่ก าหนด ความไม่เหมือนกันของ สิ่งที่บุคคลผู้หนึ่งมีกับสิ่งที่ผู้ต้องการอยากให้มี การวิเคราะห์ความต้องการจึงเป็นการหาให้พบว่า กลุ่มบุคคลเป้าหมายปฏิบัติงานได้ต่างกว่าระดับที่องค์การต้องการ (Gap) เพียงใด เป็นการวิเคราะห์ว่าบุคลากรกลุ่มเป้าหมาย ที่ศึกษานั้น ได้ปฏิบัติงานได้ถึงระดับที่องค์กรต้องการหรือไม่ ทั้งโดยชนิด ปริมาณงาน คุณภาพของงาน ความต้องการเหล่านี้สามารถใช้วิธีใดพัฒนาให้ดีขึ้นมาอยู่ในระดับที่องค์การต้องการ เช่น ด้วยการฝึกอบรมบุคลากร ที่เกี่ยวข้อง หรือด้านการพัฒนากระบวนการท างาน หรือด้วยการจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือเพิ่มเติม หรือด้วยการ พัฒนาทางการบริหารอื่น ๆ สำหรับความต้องการขององค์การที่สามารถตอบสนองได้
ด้วยการจัดการฝึกอบรมให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง เรียกว่า ความจ าเป็นในการฝึกอบรม (Training Needs) ซึ่งจะได้มาจากกระบวนการวิเคราะห์ความต้องการ ความจ าเป็นในการฝึกอบรมนี้เมื่อวิเคราะห์จากข้อมูลที่รวบรวมก็สามารถค้นหาเป้าหมายในการฝึกอบรม (Instructional Goals) ที่จะสนองความต้องการจากข้อมูลที่มีอยู่เพื่อประกอบการก าหนดแผนและหลักสูตรฝึกอบรม ให้แก่บุคลากรในองค์การที่เกี่ยวข้องต่อไป
Praxis
                สมิธ (Smith, M.K. 1996) ได้ให้แนวคิดในการนิยาม หลักสูตรตามทฤษฏีและการปฏิบัติหลักสูตร
มี 4 ทิศทางดังต่อไปนี้
1.หลักสูตรเป็นองค์ความรู้ที่จะส่งผ่านให้ผู้เรียน
2.หลักสูตรเป็นความพยายามที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์
3.หลักสูตรเป็นกระบวนการd
4.หลักสูตรเป็น Praxis หมายถึง การปฏิบัติของมนุษย์และความเข้าใจในการปฏิบัตินั้น
Understanding
                ในการดำเนินชีวิตประจำวันเกี่ยวข้องกับการรู้ (to know) และการรับรู้ (perception) โดยมีประสาท
สัมผัสทั้งห้า และใจเป็นตัวรู้อารมณ์ และน าไปสู่ความรู้สึกและความเข้าใจ ดังนั้นการแสดงอาการความเข้าใจโดยการตอบรับด้วยอาการ ผยักหน้า หรือส่งเสียงบอกให้ทราบอย่างใด อย่างหนึ่ง ครับ คะ โอเค ในภาษาอังกฤษ ก็คือ yes , ok, I see , I get ที่กล่าวมาเป็นการรับรู้และเข้าใจ อาจจะมาจากค าถามว่า รู้เรื่องไหม เข้าใจไหม รู้หรือเปล่า ซึ่งบางครั้งมีความหมายไปในทางที่การรู้อย่างเดียวก็อาจไม่เข้าใจก็ได้เช่นรู้แต่ทำไม่ได้ปฏิบัติไม่ได้ ดังนั้นความเข้าใจจึงมีหลายระดับ I see อาจเป็นความเข้าใจที่ผิวเผิน กว่า I get ยังมีความเข้าใจที่น ามาใช้เป็นทางการมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่คำว่า comprehension กับคำว่า understandingเป็นค าที่มีความหมายเดียวกันแต่ค าว่า understand จะใช้ในภาษาพูดมากกว่าcomphehension นั้นเป็นการสร้างความหมาย (construction of meaning) ในแง่นี้การสร้างความหมายของแต่ละคนก็อาจแตกต่างกันไปก็คือเข้าใจแตกต่างกันไปด้วยในแต่ละคน ส่วนคำว่า understanding เป็นความเข้าใจที่ต้องใช้ ความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วมาช่วยในการสร้างความรู้ใหม่ที่มีความหมายไปไกล กว่าสารสนเทศที่ให้มาหรือที่ได้รับมาและความรู้พื้นฐาน (ความรู้ที่มีอยู่เดิม) ซึ่งน ามาเป็นหลักฐานในการสร้างความรู้ใหม่มากกว่าที่จะดึงเอามาจากความจำประจำตัว
Research-Based Learning (RBL)
นิยามของการจัดกำรศึกษาแบบRBL
            การเรียนรู้เป็นการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วยการก าหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ การจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์เรียนรู้การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเกี่ยวข้องการทั้งกระบวนการเรียนและการสอน การเรียนนั้นเป็นบทบาทของผู้เรียนส่วนการสอนเป็นบทบาทของผู้สอน การเรียนรู้แบบRBLเป็นการจัดการเรียนการสอนที่น า การวิจัยเข้ามาเป็นเครื่องมือของการจัดการเรียนการสอน
ลักษณะสำคัญของการจัดการศึกษาแบบ RBL
ลักษณะของการจัดการศึกษาแบบ RBL มีดังนี้ คือ
หลักการที่1. แนวคิดพื้นฐาน เปลี่ยนแนวคิดจากเรียนรู้โดยการฟัง/ตอบให้ถูกเป็น การถาม/หา
คำตอบเอง
หลักการที่2. เป้าหมาย เปลี่ยนเป้าหมายจากการเรียนรู้โดยการจ า/ท า/ใช้เป็นการคิด/ค้น/แสวงหา
หลักการที่3. วิธีสอน เปลี่ยนวิธีสอนจากการเรียนรู้โดยการบรรยายเป็น การให้คำปรึกษา
หลักการที่4. บทบาทผู้สอน เปลี่ยนบทบาทผู้สอนจากการเป็นผู้ปฏิบัติเองเป็น การจัดการให้ผู้เรียนปฏิบัติ
อธิบาย N P U
     N = Planing วางแผนเขียนเป็นปรัชญา / วิสัยทัศน์/พันธกิจ / จุดหมายของหลักสูตร / ส่วนนี้คือ creativity ที่เป็น planning
    P = Generating ออกแบบและจัดหลักสูตร (design & organize ) เขียนเป็นสาระในหลักสูตร วิชาบังคับ วิชาเลือก / ความรู้ ทักษะ สมรรถนะ เมื่อจบหลักสูตร / creativity = generating การทำให้หลักสูตรปรากฏ มีขึ้น / กรณีนี้อาจเขียนเป็น course syllabus
    U = Producing หลักสูตร evaluation
    เขียนเป็นระดับคุณภาพตาม SOLO Taxonomy ได้ 1 คะแนนมีความรู้ในเนื้อหา
    ขั้นเลียนแบบ / ได้ 2 คะแนนมี 1 + มีทักษะจากการใช้ความรู้ฝึกฝน

    ขั้นประยุกต์ / ได้ 3 คะแนน ต้องมี 1 และ 2 ขั้นสร้างสรรค์
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) วิจารณ์ พานิช (2555: 16-21) ได้กล่าวถึงทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดังนี้
สาระวิชาก็มีความสำคัญ แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้ 
               สาระวิชาหลัก (
Core Subjects) ประกอบด้วย
    ภาษาแม่ และภาษาสำคัญของโลก
    ศิลปะ
    คณิตศาสตร์
    การปกครองและหน้าที่พลเมือง
    เศรษฐศาสตร์
    วิทยาศาสตร์
    ภูมิศาสตร์
    ประวัติศาสตร์
โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก ดังนี้
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
          ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness)
          ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics,   
          Business and Entrepreneurial Literacy)
          ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy)
          ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)
          ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)
ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่
        ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
        การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
        การสื่อสารและการร่วมมือ
ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้
        ความรู้ด้านสารสนเทศ
        ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
        ความรู้ด้านเทคโนโลยี
ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้
    ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
    การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
    ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
    การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)
    ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility) 
ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 7C
    3R คือ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้), และ (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น)
    7C ได้แก่
        Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)
      Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
      Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
      Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
      Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
      Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
      Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
       แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และกรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ โดยร่วมกันสร้างรูปแบบและแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นที่องค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดกับตัวผู้เรียน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมแห่งความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยจะอ้างถึงรูปแบบ (Model) ที่พัฒนามาจากเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership For 21st Century Skills) (www.p21.org ) ที่มีชื่อย่อว่า เครือข่าย P21  ซึ่งได้พัฒนากรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะเฉพาะด้าน ความชำนาญการและความรู้เท่าทันด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อความสำเร็จของผู้เรียนทั้งด้านการทำงานและการดำเนินชีวิต

       กรอบแนวคิดเชิงมโนทัศน์สำหรับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เป็นที่ยอมรับในการสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Model of 21st Century Outcomes and Support Systems) ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางเนื่องด้วยเป็นกรอบแนวคิดที่เน้นผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียน (Student Outcomes) ทั้งในด้านความรู้สาระวิชาหลัก (Core Subjects) และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่จะช่วยผู้เรียนได้เตรียมความพร้อมในหลากหลายด้าน รวมทั้งระบบสนับสนุนการเรียนรู้ ได้แก่มาตรฐานและการประเมิน หลักสูตรและการเยนการสอน การพัฒนาครู สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนในศตวรรษที่ 21
       การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวข้าม สาระวิชาไปสู่การเรียนรู้ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” (21st Century Skills) ซึ่งครูจะเป็นผู้สอนไม่ได้ แต่ต้องให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะออกแบบการเรียนรู้ ฝึกฝนให้ตนเองเป็นโค้ช (Coach) และอำนวยความสะดวก (Facilitator) ในการเรียนรู้แบบ PBL (Problem-Based Learning) ของนักเรียน ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวช่วยของครูในการจัดการเรียนรู้คือ ชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (Professional Learning Communities : PLC) เกิดจากการรวมตัวกันของครูเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำหน้าที่ของครูแต่ละคนนั่นเอง



หลักสูตรโรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม 
           หลักสูตรโรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม มุ่งพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ชัดเจนตลอดแนว ซึ่งช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่นและสถานศึกษาร่วมกันพัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาและความต้องการของชุมชน ทำให้การจัดทำหลักสูตรของสถานศึกษาเป็นกรอบทิศทาง ในการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพและมีความเป็นเอกภาพยิ่งขึ้น ครอบคลุมผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายในระดับประถมศึกษา อีกทั้งยังช่วยให้เกิดความชัดเจนเรื่องการวาดและประเมินผลการเรียนรู้ และสะท้อนคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดไว๎ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑  เพื่อพัฒนาผู้เรียนระดับประถมศกษาของโรงเรียนอนุบาลสมุทรสงครามไปสู่ ํคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้
วิสัยทัศน์
โรงเรียนอนุบาลสมุทรสงครามเป็นโรงเรียนดีผู้เรียน  มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
การพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรโรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม พุทธศักราช ๒๕๕๒ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนด โดยใช้หลักการบูรณาการสมรรถนะสำคัญสู่  การจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน  เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ ๕ ประการ ดังนี้
            ๑. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด  ความรู้  ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์  อันจะเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง  ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร  ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
๒. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์การคิดสังเคราะห์การคิดอย่างสร้างสรรค์การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ  เพื่อนนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
๓. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก๎ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ  โดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
๔. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ   ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล  การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อมและการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
๕. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี   เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม   ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น