วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2561

แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน

แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน
              แหล่งการเรียนรู้ที่โรงเรียนสามารถจัดดำเนินการเพื่อให้ครู  อาจารย์  และผู้เรียน ได้ศึกษาหาความรู้และประสบการณ์  มีหลายประเภทขึ้นอยู่กับกำลังความสามารถของโรงเรียนแต่ละแห่ง  ตัวอย่างเช่น  ห้องสมุดโรงเรียน  ห้องสมุดหมวดวิชา  ห้องสมุดเคลื่อนที่  มุมหนังสือในห้องเรียน  ห้องพิพิธภัณฑ์  ห้องมัลติมีเดีย  ห้องคอมพิวเตอร์  ห้องอินเตอร์เน็ต  ศูนย์วิชาการ  ศูนย์วิทยาบริการ  ศูนย์สื่อการเรียนการสอน  ศูนย์พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน  สวนพฤกษศาสตร์  สวนวรรณคดี  สวนสมุนไพร  สวนสุขภาพ  สวนหนังสือ สวนธรรมะ ฯลฯ
1. ห้องสมุด    
คำว่า ห้องสมุด ตรงกับภาษาอังกฤษว่า  “Library” เป็นคำซึ่งมาจากภาษาละตินว่า “Libraria” แปลว่า ที่เก็บหนังสือ
ห้องสมุด เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดในโรงเรียนป็นสถานที่รวบรวมสื่อการเรียนรู้ต่างๆ อาทิ หนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนสื่อการศึกษารูปแบบต่างๆ เพื่อสนับสนุน
การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน
                1.1 วัตถุประสงค์ของห้องสมุด
ห้องสมุดแต่ละแห่งที่ก่อตั้งขึ้นมาอาจมีนโยบายและวัตถุประสงค์แตกต่างกันไป ตามประเภทของห้องสมุด
อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปห้องสมุดทุกประเภทจะมีวัตถุประสงค์หลักร่วมกัน คือ
                         1. เพื่อการศึกษา (Education) การศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทำให้ผู้เรียนต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมอยู่เสมอ จากทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดจัดหามาทั้งในและนอกหลักสูตร
                         2. เพื่อให้ความรู้ข่าวสาร (Information) ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากทุกมุมโลก ได้จากทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดจัดหาไว้ให้บริการเพื่อให้มีความรู้ทันสมัย ทันโลก ทันเหตุการณ์ อยู่เสมอ
                         3. เพื่อการค้นคว้าและวิจัย (Research) การค้นคว้าเป็นงานหลักงานหนึ่งในสถาบันการศึกษาของครูและนักเรียน ซึ่งต้องผลิตโครงการหรือโครงงานต่างๆ ห้องสมุด จึงต้องจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้องไว้ให้บริการ เพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ
                         4. เพื่อความจรรโลงใจ (Inspiration) ห้องสมุดช่วยสร้างสรรค์ความจรรโลงใจ ให้แก่ผู้ใช้บริการ ด้วยทรัพยากรสารสนเทศประเภทงานศิลปะ ศาสนา ปรัชญา วรรณคดี ท่องเที่ยว และบทประพันธ์ต่างๆ ซึ่งผู้อ่าน จะรู้สึกซาบซึ้งใจ เล็งเห็นคุณค่าของคุณความดี ชื่นชมในความสำเร็จของผู้อื่น สามารถยกระดับจิตใจและพัฒนาตนเองให้เป็นคนดี มีคุณธรรม ยิ่งขึ้นไปอีก
                         5. เพื่อความเพลิดเพลิน และพักผ่อนหย่อนใจ (Recreation) สิ่งพิมพ์ประเภทนวนิยาย เรื่องสั้น หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร สื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ดูหนัง ฟังเพลง ในห้องสมุดนับเป็นการเข้าไปใช้บริการเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจที่ดี 



2. ห้องปฏิบัติการ
          ห้องปฏิบัติการ หมายถึง ห้องที่ทางโรงเรียนจัดตั้งขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่ฝึกทักษะในด้านต่างๆ ให้แก่ ผู้เรียนเพื่อเสริมการเรียนรู้ภาคทฤษฎีเช่น ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ ห้องปฏิบัติการเคมี เป็นต้น ให้ผู้เรียนสามารถใช้เป็นแหล่งฝึกฝนทักษะ เพื่อให้เกิดความรู้ ความช านาญ และเกิดประสบการณ์ในด้านต่างๆ ต่อตัวผู้เรียนมากยิ่งขึ้น


3. ห้องสมุดกลุ่มสาระวิชา
โรงเรียนสามารถจัดห้องสมุดกลุ่มสาระวิชา หรือห้องสมุดศูนย์วิชา ให้นักเรียนได้
ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง อาจเป็นห้องส าหรับการเรียนการสอนวิชานั้นๆ เป็นมุมหนังสือของกลุ่มสาระวิชา หรืออาจเป็นห้องโดยเฉพาะวิชาใดวิชาหนึ่ง เพื่อให้บริการสื่อการเรียนการสอน เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ เพื่อให้บริการแก่ครู ผู้เรียน เข้าศึกษาค้นคว้าได้อย่างอิสระสามารถเข้าไปศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเองเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มโดยจัดไว้ในห้องพักครูหรือหน้าห้องพักครูหรือจัดไว้ในห้องเรียนประจำวิชา

4. อุทยานการศึกษา
อุทยานการศึกษาเป็นสถานที่ที่ให้ความรู้ความรื่นรมย์ตามธรรมชาติเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจความ
เพลิดเพลินอย่างมีสาระโดยจัดเป็นสวนสมุนไพร สวนพฤกษศาสตร์ สวนเกษตร สวนธรรมชาติ ฯลฯ โดยการจัดภูมิทัศน์ให้สวยงาม มีบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ พัฒนาอารมณ์และจิตใจของผู้เรียน

5. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นแหล่งผลิตและให้บริการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแก่ครูผู้สอนและผู้เรียนในรูปแบบต่างๆที่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่นคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน อินเทอร์เน็ต ซีดี-รอม และคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสม โดยอาจจัดเป็นห้องโดยเฉพาะหรือจัดเป็นอาคารเอกเทศโดยเฉพาะ(วิลาสินี เทพวงศ์. 2548 : 19)

นอกจากห้องสมุดและห้องปฏิบัติการต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนที่เป็นสถานที่แล้ว โรงเรียนยังมีแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ที่ทางโรงเรียน ครูและนักเรียนช่วยกันจัดท าขึ้น อาทิ ป้ายนิเทศหน้าอาคารหรือหน้าชั้นเรียน แผ่นป้ายความรู้ ต้นไม้พูดได้ สวนสมุนไพร หรือสวนพฤกษศาสตร์ เป็นต้นซึ่งล้วนแต่เป็นแหล่งให้ความรู้แก่ผู้เรียนทั้งสิ้น

ที่มา https://taichalada.files.wordpress.com/2015/03/3-2.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น