วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

กิจกกรรม


1. สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2551
2.  ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล จากหลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา : กระบวนทัศน์ใหม่การพัฒนา กรุงเทพฯ : บริษัทจรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด 2552
ตอบ
          หลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา
          1. หลักสูตรแกนกลาง หมายถึง หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มีรายละเอียดแสดงให้เห็นกรอบทิศทางในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สามารถนำไปใช้จัดการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยรวมทั้งสำหรับการจัดการศึกษาทุกกลุ่ม เช่น การศึกษาพิเศษ การศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ เป็นต้น โดยมีมาตรฐานการเรียนรู้เป็นข้อกำหนดคุณภาพของผู้เรียน
          2. หลักสูตรสถานศึกษา หมายถึง หลักสูตรระดับท้องถิ่นซึ่งสถานศึกษานำข้อมูลสภาพที่เป็นปัญหาหรือความต้องการในชุมชนและสังคมภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพังประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ มาจัดทำสาระของหลักสูตร และจัดการเรียนรู้โดยยึดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นกรอบหรือแนวทางในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
          3. มาตรฐานการเรียนรู้ หมายถึง ข้อกำหนดคุณภาพผู้เรียนด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมของแต่ละกลุ่มเพื่อใช้เป็นจุดมุ่งหมายในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ซึ่งกำหนดเป็น 2 ลักษณะ คือ มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้  เมื่อผู้เรียนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นเป็นมาตรฐานการเรียน รู้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ เมื่อผู้เรียนจบในแต่ ละช่วงชั้น คือชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6การเสนอร่างหลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา(ฉบับปรับปรุง)สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้นำร่างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับปรับปรุง เสนอให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) พิจารณา ซึ่งร่างหลักสูตรนี้ ยังคงจัดโครงสร้างหลักสูตรเป็น 8 กลุ่มสาระวิชา ได้แก่ สาระวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ
          สำหรับเรื่องที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น เปลี่ยนตัวชี้วัดเป็นรายปี จากที่เคยกำหนดเป็นตัวชี้วัดช่วงชั้น และเขียนตัวชี้วัดให้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น ที่สำคัญมีการกำหนดกรอบการจัดสรรเวลาเรียนสำหรับแต่ละระดับชั้น ด้วย โดยระดับประถมศึกษาให้มีเวลาเรียนวันละประมาณ 4-5 ชั่วโมง ระดับม.ต้น วันละประมาณ 5-6 ชั่วโมง ระดับ ม.ปลาย ไม่น้อยกว่าวันละ 6 ชั่วโมงอีกทั้งยังมีการกำหนดกรอบเวลาเรียนในแต่ละกลุ่มวิชา โดย กลุ่มวิชาภาษาไทยและ กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ ระดับ ป.1 – ป.ให้มีเวลาเรียนขั้นต่ำปีละ 200ชั่วโมง ชั้น ป.4-ป.ปีละ 160 ชั่วโมง ม.ต้น ปีละ 120 ชั่วโมง ส่วน ม.ปลาย รวม 3 ปี ต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 240 ชั่วโมง กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และสังคมศึกษาให้มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าปีละ 80 ชั่วโมง ในระดับ ป.1 – ป.ม.ต้นปีละ 120 ชั่วโมง ม.ปลาย รวมปี ต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 240 ชั่วโมงกลุ่มวิชาสุขศึกษาฯ ,การงานฯ และศิลปะ ระดับ ป.1 - ม.ให้มีเวลาเรียนขั้นต่ำปีละ 80ชั่วโมง ส่วน ม.ปลาย รวม 3 ปี ต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 120 ชั่วโมง กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ ป.1 – ป.ให้มีเวลาเรียนขั้นต่ำปีละ 40 ชั่วโมง ป.4-ป.6 .ปีละ 80 ชั่วโมง ม.ต้นปีละ 120 ชั่วโมง ม.ปลาย รวม 3 ปี ต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 240 ชั่วโมง 
          นอกจากนั้นให้มีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนปีละ 120 ชั่วโมงด้วยอย่างไรก็ดี ได้มอบให้สถานศึกษาจัดสรรเวลาเรียนในแต่ละกลุ่มสาระวิชาและรายวิชาที่สถานศึกษาจัดทำขึ้นให้เหมาะสมทั้งหมด ระดับประถมศึกษา จะมีเวลาเรียนในแต่ละกลุ่มสาระวิชาไม่เกินปีละ 1,000 ชั่วโมงต่อวิชา ม.ต้น ไม่เกินปีละ 1,200 ชั่วโมงต่อวิชา และ ม.ปลาย รวม 3 ปี ต้องมีเวลาเรียนไม่เกิน 3,600 ชั่วโมงในแต่ละวิชานางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กล่าวว่า กรรมการ กพฐ.ได้รับร่างหลักสูตร ไปพิจารณาแล้ว โดยที่ประชุมมีความเห็นว่า ตัวชี้วัดที่ปรับใหม่นั้น ควรจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนการสอนที่สร้างกระบวนการคิดให้กับเด็ก ไม่ต้องการให้ตัวชี้วัดไปส่งเสริมการเรียนแบบเน้นเนื้อหา เพราะความรู้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ถ้าเด็กรู้จกกกระบวนการเรียนรู้แล้ว จะนำไปปรับใช้กับการเรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆหลักสูตรที่ปรับปรุงใหม่ต้องมีการจัดกรอบเวลาเรียนในแต่ละกลุ่มสาระวิชา เพราะหลักสูตรเดิมให้โรงเรียนจัดสรรเวลาเรียนแต่ละวิชา ผลทำให้การจัดการเรียนการสอนของแต่ละโรงเรียนแตกต่างกันมาก ส่วนใหญ่ ร.ร.จะจัดเวลาเรียนให้วิชาใดมากหรือน้อยเท่าใด ขึ้นอยู่กับครูที่ตัวเองมี เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีมาตรฐานขั้นต่ำในการจัดสรรเวลาเรียนแต่ละวิชาไว้
             อย่างไรก็ตาม หลักจากได้ข้อสรุปแล้ว ทาง สพฐ.จะนำร่างหลักสูตรฯ ไปจัดประชาพิจารณ์ รับฟังความเห็นใน 4 ภูมิภาค แล้วนำความเห็นที่ได้จากการประชาพิจารณา รวมทั้งความเห็นของ กพฐ. มาปรับปรุง ร่าง หลักสูตรฯ อีกครั้ง ก่อนนำหลักสูตรไปใช้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น