วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2561

กิจกรรม


1.สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง นิยาม ความหมาย : ทฤษฎี ทฤษฎีหลักสูตร ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
     ทฤษฎี คือ กลุ่มความสัมพันธ์ของแนวคิดคำนิยาม และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใช้อธิบายลักษณะของปรากฏการณ์หนึ่ง และชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะอธิบายหรือคาดเดาปรากฏการณ์นั้น
           จากคำจำกัดความข้างต้น สามารถแยกแยะความหมายของทฤษฎีได้ 3 ประเด็น คือ
ทฤษฎี คือ กลุ่มของข้อความที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำงานของสิ่งต่าง ๆ
ทฤษฎีช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มตัวแปรต่าง ๆ และเมื่อได้ปฏิบัติตามทฤษฎีแล้ว จะแสดงให้เห็นถึงลักษณะของปรากฏการณ์หนึ่ง
          ทฤษฎีอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ โดยเจาะจงไปว่าตัวแปรใดสัมพันธ์กับตัวแปรใด และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
         - คำอธิบายในทฤษฎีจะสะท้อนให้เห็นแนวคิด ซึ่งทฤษฎีแต่ละทฤษฎีจะมีความแตกต่างกันไป เนื่องจากคำอธิบายนั้นตั้งอยู่บนหลักปรัชญาที่ต่างกัน ดังนั้นจึงมีการแบ่งประเภทของทฤษฎีตามรูปคำอธิบายของหลักปรัชญาต่างๆ
        -ทฤษฎีทางนิเทศศาสตร์ จะมุ่งอธิบายถึงพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์ทุกรูปแบบ ซึ่งแต่ละทฤษฎีจะอธิบายถึงพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์ในลักษณะใดนั้น ขึ้นอยู่กับความเชื่อหรือหลักปรัชญาของผู้สร้างทฤษฎีว่า ตัวแปรอะไรที่สามารถนำมาอธิบายพฤติกรรมนั้นได้
องค์ประกอบของทฤษฎี
        1. แนวความคิด (Concept)
        2. ข้อเสนอหรือข้อสมมติฐาน (Proposition or Hypothesis)
        3. เหตุการณ์ (Contingency) ที่มีกระบวนการพิสูจน์จากข้อเสนอหรือข้อสมมติฐาน
หน้าที่ของทฤษฎี
        1. จัดและสรุปข้อเท็จจริงต่าง ๆ
        2. เน้นความสำคัญของตัวแปร
        3. ขยายความหรือตีความเหตุการณ์
        4. ช่วยในการสังเกตเหตุการณ์ต่าง ๆ ว่าเกิดอะไรขึ้นและเกิดขึ้นได้อย่างไร
        5. ทำนาย หรือคาดเดาเกี่ยวกับผลลัพธ์ของ เหตุการณ์ต่าง ๆ
        6. ถ่ายทอดความรู้
        7. ให้คุณค่าแก่การศึกษา ก่อให้เกิดการวิจัย โดยสามารถระบุตัวแปรที่เกี่ยวข้องได้ และนำไปสู่การพัฒนาทฤษฎีใหม่
        8. กำหนดปทัสถานหรือคุณสมบัติของพฤติกรรม
ทฤษฎีหลักสูตร การศึกษา “ทฤษฎีหลักสูตร” มีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจในความหมายของคำว่า “ทฤษฎี” เป็นพื้นฐาน จากนั้นจึงทำความเข้าใจในความหมายของคำว่า “ทฤษฎีหลักสูตร”
ความหมายของทฤษฎี คำว่าทฤษฎี (Theory) มาจากภาษากรีกว่า theoria มีความหมายว่า การตื่นตัวของจิตใจ ทฤษฎีเป็นลักษณะของการมองความจริงอันบริสุทธิ์ ทฤษฎีอธิบายตามความเป็นจริง โดยช่วยคนเรามีความตระหนักในสรรพสิ่งและความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง
คำว่า “ทฤษฎี” มีความหมายอีกนัยหนึ่งคือ หมายถึง ความสัมพันธ์ของข้อเท็จจริงต่างๆ กฎหรือสมมุติฐานที่แสดงความสัมพันธ์ในเชิงระบบ และแสดงออกมาในภาพพรวมหรือลักษณะของความมีตัวตนอย่างใดอย่างหนึ่ง
การพัฒนาหลักสูตร วิชัย  วงษ์ใหญ่ (2525 : 10) กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตร คือ การพยายามวางโครงการที่จะช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ หรือการพัฒนาหลักสูตรและการสอนคือระบบโครงสร้างของการจัดโปรแกรมการสอน การกำหนดจุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ การปรับปรุงตำรา แบบเรียน คู่มือครู และสื่อการเรียนต่างๆ การวัดและการประเมินผลการใช้หลักสูตร การปรับปรุงแก้ไขและการให้การอบรมครูผู้ใช้หลักสูตรให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการพัฒนาหลักสูตรและการสอน รวมทั้งการบริหารและบริการหลักสูตร หลักการพัฒนาหลักสูตร
ทาบา (Taba 1962 : 454) กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงหลักสูตรอันเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้นในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายใหม่ที่วางไว้
กล่าวโดยสรุป การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง กระบวนการสร้างและทดสอบคุณภาพของหลักสูตรที่นำวิธีการเชิงระบบมาประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะการนำการนำกระบวนการวิจัยและพัฒนามาใช้ในการสร้างและทดสอบคุณภาพหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น
2. ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก สุเทพ อ่วมเจริญ การพัฒนาหลักสูตร :  ทฤษฎีและการปฏิบัติ "การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีหลักสูตร"
    การพัฒนาหลักสูตร” คือ ชุดของรายวิชา และเนื้อหาที่ใช้ในการสอนระดับอุดมศึกษาโดยเฉพาะสถาบันที่ทำหน้าที่ผลิตครู โดยที่วิชาการพัฒนาหลักสูตร มีเนื้อหาสาระความรู้ที่หลากหลายซับซ้อน สอดคล้องกับนิยามคำว่า “หลักสูตร” ที่ว่า หลักสูตร คือ กิจกรรมต่างๆที่จัดขึ้นทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ก่อนล่วงหน้า (Tyler. 1949; Smith 1996) หลักสูตร คือ แผน ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ (Taba 1962) หลักสูตรเป็นกระบวนการการปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้ของมนุษย์ (Grundy. 1989) นิยามต่างๆเหล่านี้ ยังคงสอดคล้องกับความหมายเดิมของคำว่า “currere” ซึ่งเป็นรากศัพท์ในภาษาละตินของคำว่าหลักสูตร ซึ่งหมายถึง “ลู่วิ่ง” ที่ผู้เรียนจะต้องออกวิ่งไปให้ถึงจุดหมายอย่างใดอย่างหนึ่งที่ได้กำหนดไว้ 
แนวคิดเกี่ยวกับหน้าที่ของทฤษฎีหลักสูตร
ทฤษฎีหลักสูตรมีหน้าที่ ดังนี้
      1. บรรยาย (Description)
    การบรรยาย เป็นการบอกเล่าเกี่ยวกับ การจัดหมวดหมู่ หรือจัดจำแนกประเภทของความรู้ ที่มีรายละเอียดตามทฤษฎี ซึ่งมีการปรับแต่งโครงสร้าง ด้วยการแปลความหมายของแต่ละคน ที่มีความซับซ้อนของกิจกรรมที่สามารถปรับได้ โดยสรุปเป็นการจัดการ และสรุปความรู้
                
 2. ทำนาย (Prediction)
 การทำนาย ทฤษฎีสามารถทำนายเหตุการณ์ ทั้งที่เหตุการณ์นั้นยังไม่เกิด ทั้งนี้อาศัยพื้นฐาน หลักการอธิบายเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน บางครั้งการทำนายเป็นการทำหน้าที่ของทฤษฎีที่อยู่เหนือความคาดหมาย
  3. อธิบาย (Explanation)
   การอธิบาย คำว่า “ทำไม” ไม่เพียงแต่ความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ แต่ไม่ได้ให้ข้อเสนอแนะ ทั้งสิ่งที่ชัดแจ้ง หรือสิ่งที่แฝงอยู่ ที่เป็นเหตุผลในสัมพันธภาพนั้น
 4. แนะแนว (Guidanc) 
  ทฤษฎี ทำหน้าที่เช่นเดียวกันกับการแนะแนว ทฤษฎีช่วยนักวิจัยเลือกข้อมูล เพื่อการวิเคราะห์และสร้างข้อสรุปจากข้อมูล ทฤษฎีจึงส่งเสริมการค้นคว้าต่อเนื่อง

ทฤษฎีหลักสูตรการศึกษา “ทฤษฎีหลักสูตร” มีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจในความหมายของคำว่า “ทฤษฎี” เป็นพื้นฐาน จากนั้นจึงทำความเข้าใจในความหมายของคำว่า “ทฤษฎีหลักสูตร”
ความหมายของทฤษฎีคำว่าทฤษฎี (Theory) มาจากภาษากรีกว่า theoria มีความหมายว่า การตื่นตัวของจิตใจ ทฤษฎีเป็นลักษณะของการมองความจริงอันบริสุทธิ์ ทฤษฎีอธิบายตามความเป็นจริง โดยช่วยคนเรามีความตระหนักในสรรพสิ่งและความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง
คำว่า “ทฤษฎี” มีความหมายอีกนัยหนึ่งคือ หมายถึง ความสัมพันธ์ของข้อเท็จจริงต่างๆ กฎหรือสมมุติฐานที่แสดงความสัมพันธ์ในเชิงระบบ และแสดงออกมาในภาพพรวมหรือลักษณะของความมีตัวตนอย่างใดอย่างหนึ่ง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น